วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว

ความหมายของการท่องเที่ยว
                มีนักวิชาการหลายท่านเห็นพ้องต้องกันว่าการนิยามความหมายของคำว่าการท่องเที่ยว(Tourism) นั้นกระทำได้ยาก เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ (Recreation) นอกจากนี้เมื่อการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทางจึงมีปัญหาตามมาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร จนในปีพ.ศ.2506 ได้มีการประชุมของสหประชาชาติ เรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาวที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการการายได้
                จากนิยามความหมายของการท่องเที่ยวที่มาจากการประชุมในปี พ.ศ.2506 นั้นที่ประชุมได้ให้คำนิยามเรียนกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor) ซึ่งจำแนกออกเป็น นักท่องเที่ยว (Tourist) และนักทัศนาจร (Excursionist)
                นักท่องเที่ยว (Tourist) คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง
                นักทัศนาจร (Excursionist) คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงเดินทางโดยเรือสำราญ (Cruise Travellers) แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน (Transit)
            กลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่
- ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
- ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้น หรือเดิมเป็นคนถิ่นนั้นแต่ไม่ได้อาศัยอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนนั้นแล้ว
- ผู้ที่เป็นลูกเรือ (ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินและเรือโดยสาร) ซึ่งไม่มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือน และพัก ณ สถานที่นั้น มากกว่า 24 ชั่วโมง
กลุ่มนักทัศนาจร ได้แก่
- ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร
- ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นไปภายในวันเดียว
- ผู้ที่เป็นลูกเรือ (ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินและเรือโดยสาร) ซึ่งไม่มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือน และแวะพักเพียงชั่วคราว น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
สามารถแบ่งผู้มาตามถิ่นพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่
                1. ผู้มาเยือนขาเข้า (Inbound visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง
                2. ผู้มาเยือนขาออก (Outbound visitor) คือ ผู้มาเยือนที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศหนึ่งและเดินทางไปท่องเที่ยวยังอีกประเทศหนึ่ง
                3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ (Domestic visitor) คือ ผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนเองมีถิ่นพำนักอยู่
ส่วนกลุ่มที่ไม่นับรวมอยู่ในสถิติการท่องเที่ยวได้แก่ ผู้โดยสารผ่าน ผู้เร่ร่อน ผู้อพยพ ทหารประจำกองทัพ ตัวแทนกงสุล นักการทูต ผู้ย้ายถิ่นชั่วคราว ผู้ย้ายถิ่นถาวร คนงานตามชายแดน
วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
                1. การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานพักผ่อน (Holiday) เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวเหล่านี้มีวันหยุดจำกัด รวมถึงการไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง
                2. การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business) เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกัยการทงาน
                3.การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
 
ประเภทการท่องเที่ยว
                การแบ่งประเภทการท่องเที่ยวสามารถได้กระทำกระทำได้หลายวิธี แต่สามารถแบ่งออกเป็น 3วิธีใหญ่ ได้แก่ การแบ่งตามสากล การแบ่งตามลักษณะการจัดการการเดินทางและการแบ่งตามจุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยว
การแบ่งตามสากล
การท่องเที่ยวภายในประเทศ(Domestic  Tourism)
การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ(Inbound  Tourism)
การท่องเที่ยวนอกประเทศ(Outbound  Tourism)
การแบ่งตามลักษณะการจัดการการเดินทาง แบ่งออกเป็น
การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ(Group Inclusive Tour)
การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism)
การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง
การท่องเทียวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน
การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ

องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
            เนื่องจากการท่องเที่ยว  เป็นกิจกรรมที่ประกอบด้วย  การเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งและกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ มนุษย์เรามีความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตเหมือนกันๆกัน ไม่ว่าเป็น ที่พัก อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่ง สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวมีมากกว่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาท่องเที่ยว การซื้อของ การประชุม
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  จึงหมายถึง   ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงาน และการลงทุน เทคนิควิชาชีเฉพาะ  มีการวางแผน  การจักองค์กร  และการตลาด  สินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible  goods)   และไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการได้แก่
- องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
- องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
1. สิ่งที่ดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง  ทั้งทางบก  ทางน้ำ  ทงอากาศ
3. ธุรกิจที่พักแรก
4. ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว
1. ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2. ธุรกิจการประชุม  สัมมนา  การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดนิทรรศการ
3. การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
4.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-เมือง